ผลิตภัณฑ์ชุมชน

กลุ่มจักรสานตาเอี่ยม

การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์เครื่องจักรสาน โดยการสร้างเอกลักษ์ของผลิตภัณฑ์ โดยการเพิ่มลวยลายและตัวอักษร จากผลิตภัณฑ์ ตามท้องตลาดราคา 100 บาท สมารถขายได้ถึง 500 บาทต่อชิ้น ซึ่งมีคุณตาเอี่ยม ภากระจ่าง ที่เป็นผู้มีความรู้สามารถ ที่พร้อมจะถ่ายทอดให้ผู้ที่มีความสนใจ และจะ

กลุ่มทอผ้าลายน้ำเลย

การรวมกลุ่มชุมชนที่มีจิตอาสาเพื่อการอนุรักษ์และการถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณี มิปัญญาในการทอผ้า และเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน โดยการรวมกลุ่มผู้ที่มีความถนัดในการทอผ้าพื้นบ้าน มาทอผ้าลายพื้นบ้านลายต่างๆ เพื่อออกจำหน่ายภายในและภายนอกชุมชน และมีการเชื่อมโยงงานกับกลุ่มนาอ้อโฮมสเตย์ เพื่อการเผยแพร่วัฒนธรรมภูมิปัญญาทอผ้าให้แก่นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจได้ศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยการ จัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในการ เป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางการท่องเที่ยวของกลุ่มนาอ้อโฮมสเตย์

กลุ่มทำน้ำยาอเนกประสงค์

การรวมกลุ่มของบุคคลที่มีเวลาว่างหลังจากฤดูเก็บเกี่ยว เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว โดยการรวมกลุ่มทำน้ำยาอนเกประสงค์เพื่อใช้ในครัวเรือน เป็นการลดรายจ่าย และนำออกจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้

 

กลุ่มมั่งมีศรีสุข

 

การรวมกลุ่มบุคคลที่ต้องการมีอาชีพเสริม หลังจากฤดูเก็บเกี่ยว เพื่อทำการแปลรูปกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว โดยใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า กล้วยภูสั่นหนาวมีผลิตภัณฑ์กล้วยแปลรูปที่ได้รับความนิยมคือ กล้วยแบกแตก ทำรายได้ให้แก่สมาชิกต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท

กลุ่มหินแกรนิตบ้านทับพญา

การรวมกลุ่มของบุคคลที่ต้องการมีรายได้เสริมหลังฤดูการเก็บเกี่ยว โดยการนำใช้ทรัพยากรธรรมที่มีอยุ่รอบตัว นั่นคือ หินตามหัวไร่ปลายนาที่ไม่มีค่า มาแปลรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากหินแกรนิต และนำออกจำหน่าย สร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว

 

กลุ่มจักรสานพลาสติก

การสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว ด้วยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมา ประยุกต์ใช้กับเส้นพลาสติกที่เหลือใช้ โดยการจักรสานวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในครัวเรือน ด้วยเส้นพลาสติก เพื่อออกจำหน่าย ก่อให้เกิดรายได้ และลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน โดยมีคุณยาย

กลุ่มไม้กวาด

การรวมกลุ่มของบุคคลที่ต้องการมีรายได้เสริม โดยการนำใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่รอบตัว นั่นคือ “แขม” นำมาแปรรูปก่อให้เกิดรายได้แก่ตนเองและครอบครัว ซึ่งไม้กวาดของตำบลนาอ้อ  ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพ ได้รับความนิยมจากบุคคลทั่วไปมากมีวางจำหน่ายที่ริมถนน เส้นเลย  เชียงคาน 

 

กลุ่มภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังภัยชุมชน

ศูนย์รวมอาสาสมัครป้องกันภัยของชุมชน ทำหน้าที่จัดระเบียบและ ความสงบของชุมชน การป้องกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ของคนในชุมชนจากเหตุการณ์ต่างๆ การอำนวยความสะดวก แก่คนในชุมชนและร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชน

การรวมกลุ่มของผู้มีจิตอาสาในการอนุรักษ์ วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ในด้านดนตรี โดยการรวมกลุ่มบุคคลที่มีสามารถทางด้านดนตรีพื้นบ้าน เพื่อให้ความบันเทิงแก่ชุมชน และเพื่อการถ่ายทอดให้แก่เยาวชนที่สนใจ โดยการรวมตัวกันก่อตั้งวงดนตรีพื้นบ้าน เพื่อออกแสดงตามงานประเพณีต่างๆในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง โดยคิดค่าจ้างในราคาถูก และมีการถ่ายทอดให้ลูกหลานในชุมชนโดยมีการสอนการละเล่นเครื่องดนตรีพื้นบ้านให้แก่เด็กและเยาวชนผู้สนใจและให้ร่วมวงออกแสดงด้วย ก่อให้เกิดรายได้และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
สุขภาพของชุมชน  มีหลักการทำงานจิตอาสา เพื่อช่วยเหลือสังคม ทำงานเพื่อประโยชน์เพื่อส่วนรวมและมีขั้นตอนการทำงานที่โปร่งใส  มีหน้าที่ ในการสื่อข่าวสารสาธารณสุข การแนะนำเผยแพร่ความรู้ การวางแผน และประสานกิจกรรมพัฒนาสาธารณสุข ตลอดจนให้บริการสาธารณสุขด้านต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวังและป้องกันโรค การช่วยเหลือและรักษาพยาบาลขั้นต้น โดยใช้ยา  และเวชภัณฑ์ตามขอบเขตที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด การส่งต่อผู้ป่วยไปรับบริการ การฟื้นฟูสภาพและจัดกิจกรรมพัฒนาสุขภาพภาคประชาชนในชุมชน ไปสู่การพัฒนาด้านสุขภาพของคนเพื่อให้เกิดสุขภาพดีตามวิถีไทยๆ กับประชาชนในพื้นที่ต่อไป
การรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจิตอาสาในการดูแลช่วยเหลือชุมชน เพื่อให้ชุมชนเกิดความเท่าเทียม  ในแนวคิดที่ว่า “ตายอย่างมีศักดิ์ศรี” โดยการเข้าไปมีบทบาทในการช่วยเหลือผู้ที่ยากไร้ในด้านของการ  จัดงานฌาปณกิจศพ ตั้งแต่การจัดงานที่บ้านและที่เมรุ ในการตกแต่งสถานที่ งานพิธีกร งานพิธีทางสงฆ์ และขั้นตอนอื่นๆในการจัดงาน
การรวมกลุ่มของบุคคลที่ต้องการมีรายได้เพิ่ม โดยการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในชุมชน ซึ่งชุมชนหมู่ที่ 4 เป็นชุมชนที่มีความได้เปรียบเรื่องทรัพยากรน้ำ เนื่องจากเป็นชุมชนที่อยู่ติดแม่น้ำเลย ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัดเลย ที่มีความอุดสมบูรณ์ จึงได้รวมกลุ่มกันเพื่อเลี้ยงปลาในกระชัง โดยการสนับสนุนพันธ์ปลาจากบริษัท cp ซึ่งอาชีพนี้สามารถทำรายได้ให้กับชุมชนรองเป็นอันดับสองจากการทำสวนยางพารา และเป็นกลุ่มที่ขึ้นชื่อในเรื่องของปลาที่ดี มีคุณภาพของจังหวัดเลย
การรวมกลุ่มของผู้มีจิตอาสาในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นบ้าน ของชาวนาอ้อ (บ้านไทเลยโบราณ) แหล่งรวบรวมวัตถุโบราณ จารีตประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านนาอ้อที่มีอายุกว่า 450 ปี เพื่อการอนุรักษ์และถ่ายทอดโดยการจัดกิจกรรมตามกระบวนการเรียนรู้รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพื้นบ้าน ร่วมกับกลุ่มนาอ้อโฮมสเตย์ โดยการเป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางการท่องเที่ยวของตำบลนาอ้อ
การบูรณาการ ผสมผสานความรู้ที่มีอยู่ในธรรมชาติท้องถิ่นให้ รวมตัวกันโดยมี บ้าน วัด โรงเรียน ท้องถิ่น (บวร+ท) และองค์กร ในชุมชน ทำงานและเรียนรู้ไปด้วยกัน โดยเป็นการรวมการศึกษา ในระบบ นอกระบบและการศึกษาภาคอิสระมารวมกัน  เพื่อพัฒนาการศึกษา และพัฒนาชุมชนไปพร้อมๆกัน โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็น คนเก่ง ดี มีสุข  ( คนเก่ง คือ เก่งในด้านวิชาการ, คนดี คือ  มีคุณธรรม  จริยธรรม, คนมีสุข คือ มีความสุขกายสบายใจ ) ไปพร้อมการเรียนการสอนให้เข้ากับบริบทของชุมชน คือ การบูรณาการระหว่าง สิ่งที่เรียนกับชีวิตจริงในด้านต่างๆ เช่น สร้างจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิด ในการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น การดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การและสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
ศูนย์ประสานงานด้านกฎหมายของชุมชนคอยให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ช่วยเหลือชุมชนในกรณีพิพาทต่างๆด้านกฎหมายและทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ ความเข้าใจ ให้ประชาชนรู้จักสิทธิหน้าที่ของตนเองที่จะปฏิบัติต่อสังคม เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตทางกายและใจ สำหรับผู้พิการและผู้ดูแลผู้พิการ โดยเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และจัดกิจกรรมต่างๆ โดยการสร้างงาน สร้างอาชีพ ไปพร้อมกับการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ นำไปสู่การเตรียมความพร้อมและมีทักษะ ในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและใจ ให้เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
ศูนย์กลางในการปฏิรูประบบสุขภาพที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบบริการ ที่เน้นการแก้ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ส่งเสริมสุขภาพและ ให้ความรู้ตามกลุ่มวัย พัฒนาบุคคลต้นแบบสุขภาพดีของชุมชน ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากการการเรียนรู้ร่วมกันของ ผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กรชุมชน  อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน และประชาชนในพื้นที่  แนวคิด ในการพัฒนาสุขภาพชุมชน คือ การทำงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เน้นการเข้าถึงข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นปัญหา ด้านสุขภาพของคนในพื้นที่และปัญหาสุขภาพซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะ ของประชากรกลุ่มวัยต่างๆ  ตลอดจนวิธีการทำงานที่เน้นการทำงานเชิงรุก แบบมีส่วนร่วมในทุกระดับของชุมชน
ศูนย์กลางในการบำบัดฟื้นฟูสุขภาพด้วยบริการนวดแผนไทย และให้คำปรึกษาด้านสุขภาพเกี่ยวกับการปวดเมื่อยตามร่างกายการทำลูกประคบสมุนไพรและการปลูกพืชสมุนไพร โดยมุ่งเน้นรักษาอาการปวดเมื่อย รักษาผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต  และอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุเล็กน้อย โดยให้บริการฟรีแก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ที่มีบัตรทอง เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านั้นจะรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระให้แก่ครอบครัว  จึงทำให้ท่านมีจิตใจที่เศร้าหมองประกอบกับยังมีอาการปวดเมื่อย ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ  เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระจากลูกหลานที่ต้องมาดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการเหล่านั้น และเพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้พิการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุขไม่เป็นภาระให้แก่ลูกหลาน
ศูนย์สมุนไพร

ศูนย์รวบรวม และจัดเก็บองค์ความรู้ทางด้านสมุนไพร และการแพทย์ แผนไทย อย่างเป็นระบบเพื่อให้ชุมชนสามารถนำไปใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามสรรพคุณของสมุนไพรนั้นๆ

 

ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธ์ถั่วเหลืองชุมชน

ศูนย์กลางในการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธ์ถั่วเหลืองที่มีคุณภาพระดับจังหวัด ก่อให้เกิดอาชีพ สร้างรายได้ นำไปสู่ความเข้มแข็งและความสามัคคีของคนในชุมชน โดยการเริ่มต้นจากการได้รับสนับสนุนเมล็ดพันธ์จากหน่วยงานภาครัฐ แล้วชุมชนได้มีการดำเนินการที่ต่อเนื่องโดยการบริหารจัดการกันเองในชุมชน  

 

โรงผลิตน้ำดื่มชุมชน

การรวมกลุ่มของบุคคลที่ต้องการมีรายได้เสริม โดยการนำใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ นั่นคือ บ่อน้ำดิบ นำมาผ่านกระบวนการที่ถูกสุขลักษณะ และนำออกจำหน่ายในชุมชนราคาถูก ทำให้ชุมชนมีน้ำดื่ม ที่สะอาด ราคาถูก ไว้บริโภคในชุมชน โดยที่ชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการเอง ก่อให้เกิดความเข้มแข้งในชุมชน โดยตั้งชื่อผลิตภัณฑ์นี้ว่า “น้ำแร่นาอ้อ”

 

พ่อตู้ แม่ตู้ ฮวมฮักสุขภาพ

เป็นศูนย์รวมในการสร้างบทบาททางสังคม แทนบทบาทที่สูญเสียไปของผู้สูงอายุในชุมชน โดยการร่วมกันทำกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประการณ์ชีวิต ร่วมคิดร่วมทำ กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าต่อสังคม ไม่ได้ถูกทอดทิ้ง