วิสัยทัศน์และพันธกิจ

วิสัยทัศน์การพัฒนาเทศบาลตำบลนาอ้อ
“ชาวเทศบาลตำบลนาอ้อ ตระหนักในความเป็นพลเมืองที่ดี มีขีดความสามารถ มีสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ”
 พันธกิจ

          “สานพลังพลเมือง ชุมชนท้องถิ่น เครือข่ายร่วมสร้างองค์กรทุกภาคส่วน ให้มีขีดความสามารถ สร้างสรรค์ระบบสังคมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ
 ยุทธศาสตร์การพัฒนา
1 มีทัศนคติในการพึ่งพาตนเอง เป็นการร่วมมือกันของคนในชุมชน
2. มีการเรียนรู้และพัฒนาผ่านการปฏิบัติร่วมกันอย่างต่อเนื่องภายใต้ขนบธรรมประเพณีวัฒนธรรม และรากเหง้าของชุมชน
3. มีการเชื่อมโยงการทางานเป็นภาคีเครือข่าย
4. มีกลไกลในการสนับสนุนจากภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรที่มีผลกระทบในชุมชน ท้องถิ่น
5. มีกรอบนโยบายที่เอื้อต่อการพัฒนาและ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
 เป้าประสงค์การพัฒนา
  1. เพื่อประชาชนมีความเชื่อถือในกลไกของรัฐสูงขึ้นและหน่วยงานเทศบาลมีการปฏิบัติงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้
  2. เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกภาคส่วนและสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาสังคม
  3. เพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำทางสังคมให้ประชาชนทุกคนในเขตเทศบาลตำบลนาอ้อมีสิทธิ์ได้รับการบริการจากเทศบาลตำบลนาอ้ออย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ
  4. เพื่อเสริมสร้างกระบวนการชุมชนเข็มแข็งและเชื่อมโยงประโยชน์จากปัจจัยแวดล้อมโดยชุมชนจะได้รับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ได้รับโอกาสในการเข้าถึงแหล่ง เงินทุน ประชาชนได้รับโอกาสพัฒนาความรู้ในการประกอบอาชีพ
  5. เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลมีกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาคนให้เป็นคนดี มีคุณภาพ มีความรู้คู่คุณธรรมและจริยธรรม
  6. เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนาอ้อมีสุขภาพที่แข็งแรง มีสถานที่ อุปกรณ์การกีฬาและนันทนาการอย่างพอเพียง ทุกวัย
  7. เพื่อประชาชนในเขตเทศบาลตำบล นาอ้อเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า มีความมั่นคงของชีวิตและสังคม มีคุณภาพชีวิตที่ดี สงบสุข ปลอดจากอบายมุขและสิ่งเสพติด
  8. เพื่อพัฒนาเทศบาลตำบลนาอ้อให้เป็นเมืองที่มีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน และมีโครงสร้างพื้นฐานที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ของสังคมเมือง
  9. เพื่อประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนาอ้ออนุรักษ์สืบทอดประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงามและพัฒนาภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
  10. เพื่อประชาชนในเขตเทศบาล ตำบลนาอ้อมีภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรมมีการเชิดชูคุณค่า ความเป็นไทยและวัฒนธรรมไทยบนความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่ทำให้ชุมชน สังคมมีความสมานฉันท์และสันติสุข
  11. เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม อย่างบูรณาการ และเชื่อมโยงประโยชน์จากปัจจัยแวดล้อม
  12. เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของหน่วยงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนาอ้อ
  13. เพื่อเทศบาลตำบลนาอ้อมีความเข้มแข็งสามารถตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาและสามารถบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่นได้ด้วยตนเอง
  กรอบนโยบาย
        1.นโยบายด้านการบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดีแบบมีส่วนร่วม (มี  21  ตัวชี้วัด)
1.1  ไม่ทุจริต  ไม่ซื้อสิทธิ  ไม่ขายเสียง
1.2  ผู้นำและผู้บริหารไม่ทำตัวเป็นผู้รับเหมา
1.3  ไม่ปิดงาน  ฮั้วประมูลงาน
1.4  เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ทุกครั้งที่มีการจัดซื้อจัดจ้างให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร
1.5  ประมูลงาน  ควบคุมตรวจรับงาน  ชุมชนมีส่วนร่วม
1.6  คณะบริหารสภาไม่มีส่วนได้เสียทั้งทางตรงและทางอ้อม
1.7  ให้ความรู้และพัฒนาการเมืองภาคประชาชน  (สร้างประชาธิปไตยชุมชน)  ยกระดับจากประชาชนสู่ความเป็นพลเมือง
1.8  ยึดหลักชุมชนจัดการตนเอง เพิ่มพลังอำนาจในการใช้สิทธิ  ความเป็นเจ้าของ  รวมถึงความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นพลเมือง
1.9  เข้าถึงระบบด้านการเรียนรู้เครือข่ายกลุ่มองค์กร
1.10  ประสานความร่วมมือเครือข่ายทางวิชาการ
1.11  จัดทำระบบฐานข้อมูลชุมชนหรือมีศูนย์รายงานข้อมูล
1.12  หนุนเสริมการสร้างเครือข่ายขององค์กรชุมชนและกลุ่มทางสังคมด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  การเรียนรู้แบบข้ามพื้นที่
1.13  ปฏิรูปการทำประชาคมโดยเน้นการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์
1.14  ออกข้อบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยสนับสนุนให้ทุกกลุ่มใน ชุมชนท้องถิ่นมีการจัดสวัสดิการ
1.15  จัดตั้งกองทุนสวัสดิการกลางของชุมชนโดยใช้หลักการสมทบแบบมีส่วนร่วม จากทุกกลุ่มองค์กร
1.16  จัดทำ  “ธรรมนูญท้องถิ่น” ที่มาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีทุกภาคส่วน
1.17  รายงานผลการดำเนินงานต่อประชาชน (public report) อย่างน้อย ๒ ครั้งต่อปี
1.18  จัดทำแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นโดยเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
1.19  สนับสนุนกระบวนการ  “ค้นหาแกนนำของตำบล” จากทุกภาคส่วน
1.20  ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้ง  “สภาองค์กรชุมชน”
1.21  สร้างและพัฒนานักวิจัยชุมชน

       2.นโยบายด้านการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน  (มี  15  ตัวชี้วัด)
2.1  จัดตั้ง  “กองทุนกลางเพื่อจัดสวัสดิการให้กลุ่มคนที่ด้อยโอกาสในตำบล”
2.2  หนุนเสริม  “การจัดเวทีนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกระดับ”
2.3  สมทบงบประมาณผ่านกองทุนกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน
2.4  ส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนในพื้นที่เป็นสมาชิกกลุ่มสวัสดิการที่มีอยู่ในชุมชนอย่างน้อย ๑ กลุ่ม
2.5  การจัดสวัสดิการให้แก่ชุมชนโดยผ่านกระบวนการจัดการฐานข้อมูลและการนำใช้ข้อมูลชุมชน
2.6  ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นว่าด้วยการจัดสวัสดิการชุมชน
2.7  จัดตั้งกองทุนแบ่งปันเพื่อจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและจัดสรรที่ดินทำกิน / ที่อยู่อาศัย
2.8  หนุนเสริม  “การเพิ่มศักยภาพแกนนำในการบริหารกองทุน เพื่อจัดการสวัสดิการสังคมให้มีประสิทธิภาพ”
2.9  ส่งเสริม ระบบสวัสดิการสังคม  ๗  ด้าน  และครอบคลุมให้ทุกกลุ่ม ทุกชาติพันธุ์อย่างน้อย       (๔ ใน ๗ ด้าน)
2.10  สร้างเครือข่ายการจัดสวัสดิการสังคม
2.11  การจัดตั้งกองบุญหรือกองทุนอื่นๆ เฉพาะกลุ่มและค่อยกระจายไปยังกลุ่มต่างๆ ในชุมชนเขตเทศบาล
2.12  ผลักดันและเปิดโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาส  ผู้ยากจน  ผู้พิการ  และผู้ได้รับ     ผลกระทบ ฯลฯ  ได้เข้าเป็นสมาชิก  และได้รับสวัสดิการจากกองทุนฯ  โดยไม่มีเงินสมทบ
2.13  จัดสรรงบประมาณบางส่วนของกองทุนอื่นๆ  ในหมู่บ้านหรือตำบลสมทบ เข้ากองทุนสวัสดิการฯทุกปี
2.14  สร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของสมาชิกกองทุนฯ ในการมุ่งเน้นประโยชน์ ของกองทุนฯ  เป็นหลัก
2.15  ให้กองทุนฯ มีการบริหารจัดการความเสี่ยงจากรายรับ  รายจ่ายเพื่อความยั่งยืนของกองทุนฯ

3.นโยบายด้านการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน (มีตัวชี้วัด  ๑๔  ตัวชี้วัด)
3.1  ส่งเสริมให้เพิ่มครัวเรือนเกษตรกรรมยั่งยืนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕  ของครัวเรือนเกษตรกรในเขตเทศบาล  และครอบคลุมทุกชุมชน
3.2  สนับสนุนงบประมาณวัสดุ อุปกรณ์  และสิ่งก่อสร้างในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์โดยใช้วัตถุดิบในชุมชนเป็นหลัก
3.3  อปท.  สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะในการทำเกษตรกรรมยั่งยืน
3.4  มีแผนการดำเนินงานของ  อปท.  ในการส่งเสริมให้ประชาชนพึ่งตนเองด้านอาหาร
3.5  สนับสนุนการศึกษาและพัฒนาระบบการผลิตและการตลาดที่สอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค
3.6  ให้มีการจัดทำและนำใช้ฐานข้อมูลการตกค้างของสารเคมีการเกษตรในร่างกาย
3.7  สนับสนุนให้มีการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเทศบาล
3.8  เทศบาลร่วมกับโรงเรียนในตำบลจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเกษตรกรรมยั่งยืน
3.9  ให้มีการพัฒนามาตรฐานเกษตรและอาหารปลอดภัยของชุมชน
3.10  จัดให้มีการขึ้นทะเบียนพันธ์พืชท้องถิ่น  พันธ์พืชหายาก
3.11  ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาพันธุกรรมพื้นบ้าน
3.12  เทศบาลร่วมกับชุมชนในการวางแผนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน
3.13  ออกกฎ  กติกา  ข้อตกลงร่วมในการควบคุมการโฆษณาประชาสัมพันธ์ใช้สารเคมีในชุมชน
3.14  เทศบาลอุดหนุนงบประมาณเพื่อส่งเสริมให้เกิดกองทุนปรับเปลี่ยนสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

4.นโยบายด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มีตัวชี้วัด  ๑๑  ตัวชี้วัด)
4.1  สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการจัดการขยะในระดับครัวเรือนและชุมชนอย่างถูกวิธี
4.2  ส่งเสริมการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า  รวมทั้งมีการปลูกต้นไม้เพิ่มเติมในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ป่า
4.3  การทำข้อตกลงหรืออกเทศบัญญัติการดูแลรักษา  การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกประเภท
4.4  สนับสนุนการจัดตั้งกลไกคณะทำงานและส่งเสริมการพัฒนาอาสาสมัครดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.5  หนุนเสริมการบริหารจัดการแหล่งน้ำหรือจัดทำธนาคารน้ำโดยชุมชน
4.6  ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกในระดับครอบครัว  ชุมชน  และมีศูนย์เรียนรู้
4.7  กำหนดตัวชี้วัดเพื่อการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพตามบริบทของพื้นที่
4.8  ให้พัฒนากรณีตัวอย่างการจัดการทรัพยากรฯ  อย่างน้อยชุมชนละ ๑ โครงการ
4.9  สนับสนุนมีการจัดทำและการนำใช้ฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.10  ส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ที่มีศักยภาพ
4.11  สนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นจัดทำแผนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5.นโยบายด้านการจัดการเรียนรู้ของเด็ก เยาชน และประชาชน (มีตัวชี้วัด  ๑๑  ตัวชี้วัด)
5.1  สนับสนุนและจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนประจำตำบล  หรือกลุ่มองค์กรของเด็กและเยาวชนให้มีส่วนร่วม  ในกิจกรรมของชุมชน
5.2  ส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณให้เด็กและเยาวชนมีเวทีการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์
5.3  กำหนดกฎเกณฑ์ให้ทุกกลุ่มกิจกรรมมีสมาชิกกลุ่มเป็นเด็กและเยาวชนรวมอยู่ในกลุ่มต่าง ๆ ในตำบล
5.4  มีนโยบายร่วมกับหน่วยบริการสุขภาพในการส่งเสริมสุขภาพเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงวัยรุ่น
5.5  สร้างพื้นที่สร้างสรรค์  ลานกิจกรรมแต่ละชุมชนในเขตเทศบาล
5.6  จัดตั้งศูนย์สิทธิธรรมเพื่อยุติความรุนแรงแก่เด็ก  สตรี  ครอบครัวและสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังความรุนแรงโดยมีทีมวิชาชีพระดับตำบล
5.7  สนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยหรือการศึกษาทางเลือกอื่นๆ  รวมถึงการจัดระบบการศึกษารูปแบบบูรณาการ  สังคม  วัฒนธรรม  วิธีการดำเนินชีวิต  และการประกอบอาชีพตามบริบทพื้นที่  สำหรับเด็กและเยาวชนทั้งในและนอกระบบ  รวมทั้งเด็กพิเศษ
5.8  สร้างภาคีเครือข่ายเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ในการเพิ่มศักยภาพเด็กและเยาวชนทุกด้าน
5.9  จัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ท้องถิ่น  ระดับปฐมวัย, ประถมศึกษา
5.10  จัดทำฐานข้อมูลเด็กและเยาวชน
5.11  จัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ของเด็กและเยาวชน

6.นโยบายด้านการลงทุนการดูแลสุขภาพของชุมชนโดยชุมชน  (มีตัวชี้วัด  ๒๕  ตัวชี้วัด)
6.1  จัดทำฐานข้อมูลชุมชนและใช้  “ข้อมูลชุมชน”  ในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายการดูและเพื่อออกแบบการดูแลสุขภาพและช่วยเหลือร่วมกับหน่วยบริการสุขภาพ  กลุ่มอาสาสมัคร  และแหล่งเรียนรู้
6.2  จัดให้มีศูนย์ประสานงานอาสาสมัครของชุมชนเพื่อเพิ่มทักษะ  และวางแผนจัดบริการให้การดูแลผู้ต้องการความช่วยเหลือตั้งแต่เกิดจนตาย  และเด็กที่อยู่ในครรภ์  ทุกสภาวะสุขภาพ
6.3  สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมการช่วยเหลือการดูแลของอาสาสมัคร
6.4  สร้างอาสาสมัครให้การดูแลกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาเฉพาะด้าน  เช่น  แรงงานต่างด้าว  ผู้ป่วยทางจิต  ผู้ป่วยเอดส์  เป็นต้น
6.5  ผลักดันให้กองทุนมีการออกแบบการทำงานในการดูแลช่วยเหลือกลุ่มประชาชนเป้าหมายตั้งแต่เกิดจนตาย  และเด็กที่อยู่ในครรภ์  รวมทั้งการจัดการปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน
6.6  ออกเทศบัญญัติหรือสร้างกลไกการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อสุขภาพแม่และเด็ก  คนพิการ  ผู้สูงอายุ  และกลุ่มผู้ต้องการความช่วยเหลืออื่นๆ  ในชุมชน
6.7  สนับสนุนให้หน่วยบริการสุขภาพหรือศูนย์บริการสุขภาพแบบบูรณาการสามารถประสานดูแลกลุ่มเป้าหมายตามปัญหาในพื้นที่  และส่งเสริม  สนับสนุนการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือดูแลกัน
6.8  จัดทำแผนที่กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือดูแลโดยเชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้และทุนทางสังคมของพื้นที่
6.9  จัดทำคู่มือหรือแนวทางการดูแลสุขภาพตนเอง  และการช่วยเหลือดูแลผู้ที่ต้องการให้ความช่วยเหลือ
6.10  จัดให้มีการควบคุมและคุ้มครองผู้บริโภค
6.11  สร้างช่องทางการสื่อสารและกระจายข่าวสารด้านสุขภาพ
6.12  สร้างเครือข่ายการดูแลช่วยเหลือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือต้องการความ    ช่วยเหลือเร่งด่วนระหว่างกลุ่มอาสาสมัครในพื้นที่และเครือข่ายหน่วย    บริการสุขภาพ
6.13  สร้างเยาวชน  อาสาสมัคร  ร่วมให้การดูแลสุขภาพ
6.14  ทุกภาคส่วนร่วมสมทบทุนผลิตและสร้างบุคลากรด้านสุขภาพเพื่อเป็นบุคลากรในท้องถิ่น
6.15  ตั้งศูนย์บริการสุขภาพหรือหน่วยบริการสุขภาพแบบบูรณาการที่เกิดจากการร่วมสมทบทุนของทุกภาคส่วน  เพื่อจัดหรือเสริมให้บริการสุขภาพคล    อบคลุมการดูแลกลุ่มเป้าหมายตามปัญหาในพื้นที่
6.16  ตั้งศูนย์ประสานงานให้การช่วยเหลือประชาชน  ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉินภัยสุขภาพ  ภัยพิบัติ
6.17  ออกเทศบัญญัติงบประมาณในการสนับสนุนการจัดหาสถานที่  วัสดุอุปกรณ์จัดจ้างบุคลากร  เพื่อจัดหรือเสริมบริการสุขภาพครอบคลุมการดุแล กลุ่มเป้าหมายตามปัญหาในพื้นที่    6.18  สนับสนุนกระบวนการค้นหาแกนนำ  จิตอาสาและพัฒนาศักยภาพให้สามารถเข้าร่วมให้บริการสุขภาพได้
6.19  จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อลงทุนด้านสุขภาพ
6.20  ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพ  เพื่อลดต้นทุนการดูแลสุขภาพ
6.21  การลงทุนการจัดทำข้อมูลชุมชนและนำใช้ข้อมูลกำหนดกลุ่มเป้าหมายการดูแลและออกแบบการลงทุนจัดบริการสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่
6.22  การสนับสนุนและผลักดันให้แหล่งเรียนรู้ที่มีรายได้จัดสรรทุนเพื่อการดูแลสุขภาพ
6.23  สนับสนุนการจัดตั้งธนาคารอาหารปลอดภัย  และแผงจำหน่ายอาหาร ปลอดสารปนเปื้อน
6.24  ผลักดันให้มีการสมทบทุนทุกภาคส่วนในการจัดตั้งศูนย์สร้างสุขภาวะชุมชน ๔  มิติ
6.25  สนับสนุนและผลักดันให้แหล่งเรียนรู้มีรายได้  ใช้การมีสุขภาพดี  เป็นเงื่อนไขของการจัด

7.นโยบายด้านการจัดการภัยพิบัติ  และความสงบสุขของประชาชน (มีตัวชี้วัด  ๙  ตัวชี้วัด)
7.1  สนับสนุนและสร้าง  “อาสาสมัครจัดการภัยพิบัติ”
7.2  จัดตั้ง  “ศูนย์จัดการภัยพิบัติประจำเทศบาล”  แบบบูรณาการภายใต้การมีส่วนร่วมของท้องที่และท้องถิ่นตลอดทั้งประชาชนทั่วไป
7.3  ปรับจัดทำฐานข้อมูลชุมชนแบบบูรณาการและข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อพัฒนาแผนที่การจัดการภัยพิบัติประจำตำบล
7.4  จัดตั้ง  “กองทุน”  การจัดการภัยพิบัติประจำตำบลมีกฎหมายรับรอง
7.5  จัดทำคู่มือการจัดการภัยพิบัติ
7.6  เทศบาลสนับสนุนระบบการสื่อสารในสถานการณ์ฉุกเฉิน
7.7  จัดตั้ง  “ศูนย์ประสานงาน”  เครือข่ายท้องถิ่นกับพื้นที่ใกล้เคียง  ภูมิภาคเพื่อการจัดการภัยพิบัติ
7.8  เครือข่ายการจัดการภัยพิบัติประจำตำบล
7.9  ออกเทศบัญญัติว่าด้วยการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนตลอดจนการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่

8.นโยบายด้านการจัดการโครงสร้างพื้นฐานและงานสาธารณูปโภค (มีตัวชี้วัด  ๙  ตัวชี้วัด)
8.1  จัดให้มีสาธารณูปโภคอย่างทั่วถึง  (ไฟฟ้า , ประปา , รางระบายน้ำ)
8.2  คลองส่งน้ำ  เหมือง  ฝาย  แหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค  และการเกษตรกรรม
8.3  ให้มีถนน  ทางเดินเท้า  สะพาน  บล๊อค  ทางเกษตรให้เพียงพอและทั่วถึง
8.4  ประสานภาคี  เครือข่ายงบประมาณจากภาครัฐ , เอกชน , ภาคประชาชน
8.5  จัดทำแผนชุมชน , เทศบาลให้สอดคล้องกับนโยบายของจังหวัด  กลุ่มจังหวัด  และประเทศโดยส่วนรวม
8.6  แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของประชาชน  (บ้านมั่นคง)
8.7  ปรับปรุงซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานงานสาธารณูปโภค
8.8  จัดสร้างที่จำหน่ายผลผลิตของชุมชนลานสินค้าชุมชน
8.9  สร้างอาคารเรียน   อาคารประกอบ  สนามกีฬา  ลานวัฒนธรรม ฯลฯ

9.นโยบายด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว  การอนุรักษ์โบราณสถาน  จารีตประเพณี  วัฒนธรรม  และภูมิปัญญาท้องถิ่น  (มีตัวชี้วัด  ๙  ตัวชี้วัด)
9.1  ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ , วัฒนธรรม , ของท้องถิ่นอย่างเป็นระบบต่อเนื่องเน้นการมีส่วนร่วมเครือข่าย
9.2  ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์
9.3  อนุรักษ์โบราณสถาน , จารีต , ประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
9.4  จัดตั้งตลาดนัดวัฒนธรรม  (ถนนข้าวจี่)
9.5  ประสานภาคีเครือข่ายในการประชาสัมพันธ์ / ป้ายประชาสัมพันธ์
9.6  จัดให้มีการอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรการท่องเที่ยว  (มัคคุเทศก์น้อย ฯลฯ)
9.7  จัดให้มีสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน
9.8  จัดหาเครื่องมือบุคลากรการท่องเที่ยวให้เพียงพอ
9.9  สร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและยั่งยืน